สวัสดีครับทุกๆท่าน วันนี้ทาง NasShops จะทำการแกะกล่อง Review ตัว Synology NAS ใน Model ปี 2016 นะครับ ซึ่งขณะนี้มีด้วยกัน 3 รุ่นคือ DS216se, DS216play และ DS416 นะครับ สำหรับตัวแรกที่เราจะทำการแกะกล่องรีวิวนั้น จะเป็นตระกูล 2 Bays รุ่นน้องสุดในตระกูล J Series นะครับ ซึ่งรุ่นนี้จะเหมาะสำหรับการใช้งานภายในบ้านที่เน้นในเรื่องของการ Share File และการ Backup ข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลที่สูงมากๆ และที่สำคัญรุ่นนี้ budget-friendly สุดๆครับ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นที่อยากจะมี NAS ไว้ใช้งานเป็นของตนเองสักเครื่องหนึ่ง
ในส่วนของ Hardware Spec นั้นถือว่าให้มาเพื่อให้สามารถทำงานในเรื่องของการ Share File และการ Backup ได้ แต่ก็คงไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในลักษณะของ Media Entertainment สักเท่าไหร่เนื่องจาก RAM ที่ให้มามีขนาด 256 MB (ไม่สามารถเพิ่ม RAM ได้) และไม่มีในส่วนของ 4K Ultra HD video transcoding อาจทำให้การดูหนังของท่านไม่ Smooth ตามที่ท่านหวังไว้ แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่น ขนาดของไฟล์, ประเภทของไฟล์ และระบบ Network ที่ใช้ในการ Transfer ข้อมูล เป็นต้น
Hardware Specification | |
CPU | Marvell Armada 370 88F6707 800 MHz, 32-bit |
System Memory (RAM) | 256 MB DDR3 |
Drive Bay(s) | 2 |
USB 2.0 | 2 |
RJ-45 1GbE LAN Port | 1 |
Warranty | 2 Years |
ขั้นตอนต่อไปเราจะมาดูรายละเอียดทางด้าน Hardware ของ Synology NAS รุ่น DS216se เริ่มต้นที่กล่องที่ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ จะเป็นกล่องสีน้ำตาลเรียบมีหูหิ้ว ด้านหน้าพิมพ์ Synology NEW NAS Experience ซะด้วย!
ส่วนต่อมาทางด้านข้างจะเป็น Option หรือ Features ต่างๆของ Synology NAS ตัวนี้ว่าสามารถทำงานในลักษณะใดได้บ้าง เช่นเหมาะสำหรับทำ Private Cloud เป็นต้น
ด้านข้างอีกหนึ่งด้านจะเป็นรายละเอียดชื่อรุ่น และ Hardware Spec
เมื่อทำการเปิดกล่องออกมา ภายในกล่องจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่บรรจุ NAS พร้อมกับห่อกันกระแทกเอาไว้และส่วนของ Accessory ต่างๆเช่น สายไฟ, Adaptor และสาย LAN เป็นต้น
ตอนนี้เราจะมาดูว่าภายใต้ซองกันกระแทกสีขาวหน้าตาของ Synology NAS DS216se นั้นจะมีหน้าตาเป็นเช่นไรบ้างครับ...
เมื่อเรานำ Synology NAS DS216se ออกมาจะพบว่า DS216se นั้นจะเป็นสีขาว ด้านหน้า(ไล่จากด้านบนลงล่าง) จะมีไฟ LED บอก Status การทำงานต่างๆ เช่น LAN, Disk 1, Disk 2 เป็นต้น ถัดจากนั้นลงมาจะเป็นปุ่ม Power ใช้สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง พร้อมทั้งไฟแสดง Status อย่างไรก็ตามการปิดเครื่องหรือการ Shutdown NAS นั้น ผมแนะนำให้ทำผ่าน Interface หรือผ่านทาง DSM จะเป็นการดีที่สุดครับ เนื่องเป็นการป้องกันไฟกระชาก หรือการหยุดจ่ายไฟทันทีอาจทำให้เกิดผลเสียกับ Hard disk ได้อีกด้วยครับ และมุมล่างซ้ายสุดจะเป็นรุ่นของ Synology ครับซึ่งก็คือ DS216se
ด้านข้างของตัวเครื่องจะเป็นช่องสำหรับดูดอากาศระบายความร้อน ภายใต้แบรนด์ Synology ซึ่งถูกออกแบบมามีความสวยงามมากครับ
ส่วนด้านหลังของตัวเครื่องจะประกอบไปด้วยพัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่ และมี Port ต่างๆเรียงลำดับจากทางซ้ายไปขวามือ และจากบนลงล่าง ดังนี้ครับ รูเล็กๆด้านในจะเป็นปุ่ม Reset ของตัวเครื่อง หาวัสดุที่มีความแข็งแรง ไม่หักง่าย จิ้มลงไปเบาๆครับ Port ต่อมาจะเป็น Port USB 2.0 และ USB 3.0 อย่างละ 1 Port ตามมาด้วย Port LAN ที่เป็น Gigabit จำนวน 1 Port ครับ และรูสำหรับใส่สาย Lock ตัวเครื่อง ถัดลงมาด้านล่างจะเป็นช่องสำหรับเสียบสาย DC Adapter ครับ
ในการถอดประกอบเคส สำหรับใส่ Hard disk เข้าไปในตัวเครื่องนั้น สามารถถอดเคสได้โดยการไขน๊อตทางด้านหลังของเครื่องออก (ซึ่งหากเป็นเครื่องใหม่น๊อตทั้งสองตัวนี้ยังไม่ได้ใส่เอาไว้) การถอดเคสเพื่อใส่ Hard disk สามารถทำการ Slide เคสออกมาได้เลยครับ หลังจากนั้นจะพบกับช่องที่นำ Hard disk เสียบเข้าไป ทำการเสียบ Hard disk เข้าไปและขันน๊อตยึด Hard disk ที่มีมาให้ในกล่องเพื่อความมั่นคงปลอดภัย และ Slide เคสของเครื่อง กลับเข้าไปตามเดิม และยึดน๊อตด้านหลังเครื่องทั้งสองตัวครับ
สำหรับ Synology NAS DS216se นั้น Hard disk ไม่ได้เป็น Hot Swap ครับ ดังนั้นในการเปลี่ยนหรือเพิ่ม Hard disk ต้องทำการ Shutdown เครื่องลงก่อนนะครับ
เราจะมาดูว่าประสิทธิภาพในการ Read/Write ข้อมูลของ Synology NAS DS216se นั้นจะมีลักษณะเป็นเช่นใดนะครับ ซึ่งจากการทดสอบ High-performance และ floating-point unit boost efficiency เราจะพบว่าส่วนของการ Read นั้นสามารถทำได้ 102 MB/Sec เลยทีเดียว ส่วนการ Write จะอยู่ที่ 59 MB/Sec ซึ่งจากการทดสอบอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นการ Setup Hard disk RAID 1 และเป็นการ Transfer ข้อมูลบน Window OS นะครับ
สรุป Synology NAS รุ่น DS216se รุ่นนี้จะเหมาะสำหรับ
1. การใช้งานภายในบ้านที่เน้นในเรื่องของการ Share File และการ Backup ข้อมูลเป็นหลัก
ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลที่สูงมากๆ
2. budget-friendly สุดๆ
3. เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นที่อยากจะมี NAS ไว้ใช้งานเป็นของตนเองสักเครื่องหนึ่งครับ