วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เปรียบเทียบเทคโนโลยี SAN และ NAS

เปรียบเทียบเทคโนโลยี SAN และ NAS
Storage Area Network ( SAN )
SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้

การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย มีความเชื่อถือได้ในระดับสูงกำลังจะกลายเป็นของคู่กันสำหรับระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตในบ้านเรา แต่สำหรับในต่างประเทศ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติ

Storage Area Network หรือ SAN เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์ จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น SAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มี ประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต

SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ

เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการออกแบบระบบ SAN

ก่อนที่จะออกแบบระบบ SAN หรือปรับปรุงระบบ SAN ที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราจะต้องแนวคิดพิจารณา ดังนี้
1. ตำแหน่งหรือที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
2. ตำแหน่งหรือที่ตั้งของข้อมูล เพื่อให้การไหลของ Traffic เป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
3. รูปแบบการเชื่อมต่อ ระยะทาง รวมทั้งอุปกรณ์ และสายสัญญาณ
4. ขนาดความจุของอุปกรณ์จัดเก็บ
5. แพลตฟอร์มทางด้านฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์การจัดเก็บ หรือระบบปฏิบัติการที่ใช้
6. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความยืดหยุ่นที่จะปรับขยายขนาดของ SAN หรือเครือข่ายแลนในอนาคต
7. การบริหารหรือรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล
8. การสำรองข้อมูลและการเรียกคืนของข้อมูลออกมาใช้
9. ความพร้อมเสมอของข้อมูลข่าวสาร ที่สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที และทุกเวลา
10. ความทนทาน ที่สามารถรองรับได้ หากเกิดปัญหาขึ้น
11. จำนวนของ Hop หรือจำนวนของ Switch ที่เชื่อมต่อกัน และเราอาศัยเป็นทางผ่านไปสู่เป้าหมายปลายทาง ได้แก่อุปกรณ์จัดเก็บ จะต้องผ่านอุปกรณ์ เชื่อมต่อมากเท่าใด
12. ประสิทธิภาพ และภาระหรือ Load ที่จะเกิดขึ้นบน SAN ที่อาจมีผู้คนเข้ามาใช้งานพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
13. การบริหารจัดการที่เรียบง่าย
14. ความสามารถในการเลือกอุปกรณ์จัดเก็บได้ง่าย ในที่นี้ หมายถึง ความสามารถที่จะอ้างอิงถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล บน SAN ได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย
15. การรักษาความปลอดภัยที่ดี

ประโยชน์และลักษณะของ SAN

ลักษณะของ SAN :
- โปรโตคอลที่ใช้ได้แก่ Fiber Channel หรือ Fiber Channel to SCSI
- งานที่เราจะนำ SAN มาใช้ ได้แก่
- ฐานข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูงในการดึงข้อมูล อีกทั้งเสียหาย หรือสูญหายไม่ได้
- การจัดเก็บหรือการทำสำรองข้อมูลส่วนกลาง และสามารถดูแลจัดการได้โดยง่าย
- ต้องการประสิทธิภาพ และความสามารถในการกู้คืนข้อมูล
- การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ มีปริมาณมาก
- การดึงข้อมูล หรือการจัดเก็บข้อมูลทุกประเภทที่ต้องการความเร็วสูงยิ่ง

คุณประโยชน์ ของ SAN ได้แก่ :
- สามารถตอบสนองความต้องการ ในด้านข้อมูลอย่างรวดเร็ว และได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
- การถ่ายเทข้อมูลมีความน่าเชื่อถือสูง
- สามารถลดขนาดของ Traffic บนเครือข่ายหลักได้ เนื่องจากไคลเอนต์แต่ละเราสามารถได้-- ข้อมูลอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ปริมาณของ Traffic ไม่ค้างเติ่งอยู่บนเครือข่ายนาน จนกลายเป็นการสะสม Traffic ขึ้น
- การจัด Configuration สามารถมีความยืดหยุ่นมาก
- ประสิทธิภาพ การทำงานและการบริหารจัดการสูง
- สามารถปรับเพิ่ม-ลด หรือขยายเครือข่ายได้ง่าย ไม่กระทบกระเทือนกับการทำงานทั้งระบบ
- สามารถบริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง
- มี Products ที่สนองการทำงานของ SAN จากที่ต่างๆ มากมาย

Topology การเชื่อมต่อบนระบบ SAN

พื้นฐานของ SAN Topology มีหลายแบบ ดังต่อไปนี้

การเชื่อมต่อแบบ Switch Fabrics ตัวเดียว
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อ SAN ที่เรียบง่ายที่สุด โดยประกอบด้วย Fiber Channel Switch 1 ตัว กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่จำกัดจำนวนของอุปกรณ์จัดเก็บ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ Port ที่ติดตั้งบน Switch fabric การเชื่อมต่อแบบนี้ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือกลาง

การเชื่อมต่อแบบ Cascade Fabrics
ประกอบด้วยกลุ่มของ Switch fabric จำนวนหนึ่งนำมาพ่วงต่อกัน เหมาะสำหรับสถานที่ ๆ มีการจัดเก็บข้อมูลแบบแยกจากกัน หรือกระจายไปตามอาคารสถานที่ต่างๆ ที่แต่ละแห่งมีข้อมูลจัดเก็บปริมาณสูงมาก และต้องการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เฉพาะแห่ง รวมทั้งมีผู้ดูแลระบบเครือข่าย หรือ SAN แยกออกจากกัน
การออกแบบลักษณะเหมาะสำหรับการกระจายข้อมูลไปตามที่ต่างๆ หรือ แบบรวมศูนย์ก็ได้ อย่างไรก็ดี หากเราจะออกแบบในรูปแบบนี้ เราจะต้องระวังรูปแบบการไหล หรือทิศทางการไหลของ Traffic ให้ดี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน อย่างไรก็ดี ระบบ Cascade เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ได้กระจัดกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อจะเป็นสายใยแก้วนำแสงที่ไม่มีปัญหาเรื่องของ ระยะทางการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อแบบ Mesh Fabrics
การเชื่อมต่อแบบ Mesh Fabrics ประกอบไปด้วย กลุ่มของ SAN Switch Fabric ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกัน ชนิดที่มีสายสัญญาณเชื่อมต่อมากกว่าหนึ่งเส้น จุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหา การหยุดชะงักการเชื่อมต่อ หากสายสัญญาณการเชื่อมต่อบกพร่อง ซึ่งในลักษณะนี้ หากสายสัญญาณ เส้นใดเส้นหนึ่ง เกิดหลุด หรือหยุดทำงาน ก็จะมีเส้นสัญญาณอื่นๆ ทำหน้าที่แทนในทันที
ในกรณีที่ระบบ SAN มีขนาดใหญ่ และเติบโตมากขึ้น ไม่ว่า จะเป็นการเติบโตในแนวดิ่งหรือแนวนอนก็ตาม เราก็สามารถขยายรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Mesh ออกไปทางแนวนอนได้เป็นอย่างดี การเชื่อมต่อแบบ Cascade เหมาะสำหรับแอพพลิเคชั่นใดๆ ที่มี ข้อมูลที่จะถูกนำใช้ภายในสถานที่ หรือ Local หรือกระจายออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย แน่นอน และพร้อมที่จะให้ข้อมูลเสมอ เนื่องจากการเชื่อมต่อมีมากกว่าหนึ่งช่องทาง และพร้อมที่จะทดแทนกัน เมื่อใดที่การเชื่อมต่อเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดสะดุดลง

การเชื่อมต่อแบบ Ring
จัดสร้างการเชื่อมต่อง่าย Switches ที่เป็นแบบ Fiber Channel นี้ สามารถสนับสนุนการเชื่อมต่อของเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนในการออกแบบ สามารถขยายให้เป็นระบบ SAN ขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น สนับสนุนการทำสำรองข้อมูลร่วมกัน กับ Switches อื่นๆภายในระบบ SAN หมายความว่า ภายใต้การเชื่อมต่อแบบ Ring นี้ ผู้ดูแลเครือข่ายหลายคน ต่างก็สามารถแบ่งหน้าที่สำรองข้อมูล กันเองได้ สนับสนุนการบริหารจัดการร่วมกันได้ ให้ประสิทธิภาพการ Access เข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ หรือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ภายใน Switches ได้ดีกว่า เร็วกว่า การเชื่อมต่อแบบอื่นๆ

การเชื่อมต่อแบบ Back Bone Fabric
เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วย Fiber Channel Switches จำนวนหนึ่ง ที่อุทิศเพื่อการเชื่อมต่อกับ Switches ตัวอื่นๆ ภายใน Fabric เดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า อุปกรณ์ที่เป็น Switches เหล่านี้มิได้เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรง แต่ทำหน้าที่เป็น Back Bone เพื่อการเชื่อมต่อกับ Switches ตัวอื่นๆ เนื่องจาก Switches เหล่านี้ มีแบนด์วิดช์ที่สูงกว่า และมีการเชื่อมต่อหลายเส้นทางกับ Switches ตัวอื่นๆ ดังนั้นการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ มักจะถูกเรียกว่า เป็นการเชื่อมต่อแบบ many-to-many Connection หรือความเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ระหว่าง Switches หมู่มากกับ Switches หมู่มากด้วยกัน ที่มีความเร็วสูง รูปแบบการเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อแบบ Back Bone Fabric นี้เหมาะสำหรับ Application หรืองานที่ต้องการ แชร์ใช้งานข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ จาก Server หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ต่าง Switches กัน หลายๆที่ ๆต้องการความเร็วสูง แทนที่จะเชื่อมต่อกันระหว่าง Switches Fabric ด้วยกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานระหว่าง Switches ดังนั้น การเชื่อมต่อผ่านทาง Back Bone Switches จะให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า เนื่องจาก มีอัตราความเร็วในการเชื่อมต่อสูง

การเชื่อมต่อแบบ Hierarchical
เป็นการเชื่อมต่อแบบเป็นลำดับขั้น ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งระบบ ได้ดี ลองคิดดูว่า หากเอา Switches ต่างๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นแนวยาว แบบพ่วงต่อกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาทางด้าน Latency หรือค่าหน่วงเวลาจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากจำนวนของ Hop จะมีมาก ซึ่งข้อจำกัดของการเชื่อมต่อของ Switches บน SAN ได้แก่ การเชื่อมต่อจะต้องไม่เกิน 7 Hop ดังนั้น หากการพ่วงกันระหว่าง Switches ก่อให้เกิดจำนวน Hop มากกว่า 7 Hop ให้ใช้การเชื่อมต่อแบบ Hierarchical ได้ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Hierarchical
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Hierarchical เป็นไปในลักษณะต้นไม้ หรือแบบขั้นบันได

คำศัพท์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ SAN
Fabric Switches : หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆภายใน Topology การเชื่อมต่อของ SAN อย่างเช่น Switches ที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ จัดเก็บข้อมูลหรือ Server รวมทั้งระหว่าง Switches ด้วยกัน เป็นต้น

Fiber Channel : เมื่อพูดถึงในทางตรรก คำว่า Fiber Channel หมายถึงโครงสร้างการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง เชื่อมต่อกันแบบจุดต่อจุด และสื่อสารข้อมูลแบบสวนทางกัน (Full Duplex) การไหลของข้อมูลเป็นแบบอนุกรม แต่เมื่อพูดถึงในแง่ทางกายภาพ แล้ว Fiber Channel ประกอบขึ้นด้วย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง ตัว Switches Hub สายสัญญาณ ใยแก้วนำแสง รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่มาเชื่อมต่อกับ ผ่าน N_Port และมีรูปแบบ Topology การเชื่อมต่อแบบ ระหว่างจุด (Point - to -Point) หรือแบบ Arbitrated Loop

Network attached storage (NAS)
เบื้องต้นเกี่ยวกับ NAS 
ในปัจจุบันนอกจากไฟล์เอกสารที่มีแต่ข้อความแล้วยังมีไฟล์รูปภาพกราฟิก หรือแม้แต่ข้อมูลวิดีโอซึ่งต้องการใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ จำนวนมาก วิธีแก้ทางหนึ่งก็คือการใช้ Network-Attached Storage(NAS) ในระบบเน็ตเวิร์กภายในองค์กร

Network-Attached Storage (NAS) เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์เก็บข้อมูลให้กับเน็ตเวิร์กขององค์กร โดยที่ NAS ไม่ได้มีความสามารถในการประมวลผลพิเศษ แต่ว่า NAS เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยที่มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้มากกว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากราคาของระบบที่ถูกกว่าการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ระบบ NAS นี้ยังสามารถติดตั้ง ใช้งาน และดูแลได้ง่ายโดยใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กสามารถตรวจสอบ และดูแล NAS ได้โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที
NAS นั้นเปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอ็นต์ หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโพรโตคอลเช่น TCP/IP และผ่านทางแอพพลิเคชันเช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) ทำให้ไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์กสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ และการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่ภายในไคลเอ็นต์อยู่แล้ว โดยโครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว

NAS จะส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย โดย LAN / WAN จะมีการบังคับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ให้แตกออกเป็นชิ้นย่อยในการส่ง ดังนั้นจำนวนแพ็กเก็ตยิ่งมากเท่าไรก็จะใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้นนั่นเอง จึงไม่เหมาะที่จะไว้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ

นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้ NAS แบ็กอัพไดเรกทอรีหรือฮาร์ดดิสก์ของไคลเอ็นต์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสำรองข้อมูลที่ลดความเสี่ยงใน การสูญเสียข้อมูลให้น้อยลง

เปรียบเทียบ SAN และ NAS
จุดแข็งของ SAN
จากที่โครงสร้าง SAN นั้นถูกออกแบบมาให้รองรับกับระบบงานที่มีขนาดใหญ่ที่มีการขยายตัวของปริมาณ ข้อมูลสูง รองรับการทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน เจ็ดวันต่อสัปดาห์ หากเป็นระบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเก่า ถ้ามีขนาดพื้นที่เก็บข้อมูลไม่เพียงพอแล้วจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์จัด เก็บข้อมูลอีกนั้น ผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องปิดเซิร์ฟเวอร์ก่อนแล้ว จึงติดตั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเข้ากับเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ รู้จัก แต่ใน SAN เราสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ใหม่เข้าไปในระบบได้ทันที โดยที่ไม่ต้องปิดเซิร์ฟเวอร์ก่อน เพียงติดตั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแล้วต่อเข้ากับพอร์ตไฟเบอร์ออปติกสวิตซ์ เซิร์ฟเวอร์จะค้นหาอุปกรณ์ใหม่โดยอัตโนมัติ ทำให้ระบบของคุณสามารถที่จะทำงานได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องปิดระบบ

การดูแลควบคุมก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญของระบบ ในระบบ DAS เดิมการที่จะดูแลโดยผ่านระบบศูนย์กลางนั้นเป็นเรื่องที่จะกระทำได้ยาก หากมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก โครงสร้าง SAN จะช่วยให้สามารถดูแลผ่านระบบศูนย์กลางซึ่งจะเป็นทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก ในส่วนของระบบการดูแล

ด้วยการใช้เทคโนโลยีไฟเบอร์แชนแนล SAN สามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่เป็นบล็อกได้ด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำให้เราสามารถสำรองข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และด้วยการใช้ไฟเบอร์แชนแนลสวิตซ์นี้เอง ทำให้ SAN มีความสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยระยะทางที่ไกลมากขึ้น และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้มากกว่าเดิม

ทุกวันนี้มีการใช้ SAN เพิ่มมากขึ้นโดยอาจจะถูกใช้คู่ร่วมกับ NAS ซึ่งช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นมีระบบ NAS มากมายที่มีการใช้ SAN ซ่อนอยู่ภายใน

ข้อได้เปรียบของ SAN
ข้อได้เปรียบหรือข้อดีของ SAN นั้นคือการปรับปรุงความสามารถทางด้านของความน่าเชื่อถือและทางด้านการขยาย ขนาดข้อมูลขององค์กร การสำรองข้อมูล หรือการกู้คืนข้อมูล SAN นั้นสามารถที่จะสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลด้วยเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจะลดความหนาแน่นของข้อมูลภายในเน็ตเวิร์กได้เป็นอย่างดี เป็นการใช้แบนด์วิดธ์ในระบบแลนที่ถูกต้อง SAN สามารถทำงานข้ามระบบ MAN (Metropolitan Area Network) และเมื่อใช้งานร่วมกัน จะทำให้สามารถเชื่อมต่อได้ไกลถึง 150 กิโลเมตร

โดยจะแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์โดยตรงออก ซึ่งทำให้เกิดการแยกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลออกจากเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นสามารถเพิ่มอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้โดยที่ไม่ต้องปิดระบบ และดูแลรักษาระบบแยกจากกันได้ไม่มีปัญหา

จุดแข็งของ NAS
NAS จะใช้ได้ดีกับองค์กรที่ต้องการส่งไฟล์ไปกับหลายๆ ไคลเอ็นต์ผ่านทางเน็ตเวิร์ก NAS นั้นจะสามารถทำงานได้ดีกับระบบที่ต้องส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ เนื่องจากแพ็กเก็ตนั้นจะมีขนาดเล็กมากจนระยะไม่มีผลต่อข้อมูล สามารถส่งข้อมูลทีละน้อยๆ ได้ หรือมีผลกระทบน้อยมากในขณะส่งข้อมูล และยังสามารถให้ความปลอดภัยได้ในระดับของไฟล์ เนื่องจากตัวของไฟล์เองนั้นจะถูกล็อคไว้โดยแอพพลิเคชัน ดังนั้นหากจะแก้ไขค่าใดๆ ในระบบจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ข้อได้เปรียบของ NAS
NAS นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการแชร์ไฟล์ เช่น NFS ในยูนิกซ์ หรือ CIFS ในวินโดวส์ เอ็นที โดยสามารถส่งไฟล์ข้อมูลไปให้กับหลายๆ ไคลเอ็นต์ โดยที่มีการป้องกันในเรื่องความปลอดภัยได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของแอพพลิเคชันที่ควรใช้ NAS เพื่อประสิทธิภาพการทำงานมี 2 แอพพลิเคชันคือ ระบบไดเรกทอรี่และเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทั้งสองแอพพลิเคชันนี้มีการดึงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ แจกจ่าย หรือไปสร้างเว็บเพจนั้นเองและสำหรับในองค์กรที่มีการใช้ฐานข้อมูล มีการเข้าถึงข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว (จำกัดสิทธิ์) มีผู้ใช้งานน้อย ระบบ NAS จะสามารถช่วยการลดค่าใช้จ่ายขององค์กรแบบนี้ลงได้เช่นกัน
ขอบคุณเนื้อหาจาก วิชาการ.คอม